วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สำนวนไทย

สำนวนไทย คือถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่[1หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู้อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่าสำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข  

 จับปลาสองมือ


  ความหมาย  ทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันอาจไม่สำเร็จสักอย่าง
     ที่มา      การจับปลาต้องจับที่ละตัวโดยใช้สองมือจับให้มั่น ถ้าจับพร้อมกันด้วยมือข้างละตัว ปลาอาจหลุดมือไปทั้งสองตัว
      อย่าจับปลาสองหัตถ์จะพลัดพลาด   จับให้ลงคงให้ขาดว่าเป็นผัว
  จึงนับว่าคนดีไม่มีมัว                        ถ้าชายชั่วร้างไปมิใช่ชาย