Kanjanee Maneeechay ภูไทถิ่น
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
การทำนังสือนิทานแบบง่ายๆ
ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้น
เป็นนังสือนิทานที่แทรกเนื้อหารสาระไว้มากมาย พร้อมด้วยความสนุกสนานโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย
ขอแนะนำเว็บที่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book) ด้วย โดย
http://atinno.blogspot.com/
การใช้ท่าทางประกอบการพูด
การใช้กิริยาท่าทางประกอบการพูด
เป็นที่ยอมรับแล้วว่า กิริยาท่าทางเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งอันหนึ่งในกาพูดแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ การแสดงสีหน้า การวางท่า การเคลื่อนไหวและการแสดงท่าทาง แต่ในการแสดงทั้ง 4 ประเภทนั้นต้องผสมกลมกลืนกันไปทั้งหมด จะแยกเป็นส่วนสัดออกจากกันไม่ได้โดยเด็ดขาด
การวางท่า ไม่มีแบบของการยืน หรือนั่งไว้แน่นอนแต่มีข้อพึงระวังอยู่ว่าอย่ายืนหรือนั่งตัวตรง แข็งทื่อแบบทหารเฝ้ายาม หรืออกแอ่น พุงแอ่น ให้ยืนนั่งตามสบาย แต่ก็อย่าให้ถึงขนาดตัวห่อหรือทำท่าจะล้มพับลง ให้เท้าห่างจากกันประมาณ 6-12 นิ้ว และวางน้ำหนักไว้ตรงอุ้งเท้าจะเป็นท่าที่ยืนที่สบาย
ข้อบกพร่องในการวางท่าที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ
1. ท่าคนขี้ยา
2. ท่าชิงหาหลัก
3. ท่าไม้ปักรั้ว
การแสดงสีหน้า ส่วนสำคัญที่สุดของการแสดงสีหน้า ได้แก่ ดวงตา ดวงตาเป็นประตู่ของหัวใจที่จะติดต่อกับคนฟังโดยตรง เราชอบคนพูดที่พูดกับเราโดยไม่หลบตา ไม่ว่าในการพูดคุยธรรมดาหรือบนเวที หากคนที่พูดกับเราคอยหลบตา หรือไม่กล้าสบตา เราจะมีความไว้วางใจน้อยลง การพูดต่อชุมนุม ถ้าผู้พูดที่คอยก้มหน้าดูพื้น ก้มอ่านที่จดไว้ แหนงมองเพดาน มองออกไปทางหน้าต่างหรือที่อื่น ไม่มองไปยังผู้ฟัง ย่อมพาให้ผู้ฟังขาดความสนใจในตัวผู้พูด
ข้อบกพร่องในการแสดงสีหน้าที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ
1. หน้าลักไก่
2. หน้าเก๊ก
3. หน้าหลุกหลิก
การแสดงท่าทาง เป็นการเน้นหรือช่วยเพิ่มความกระจ่าง โดยเฉพาะในระยะทาง ขนาดรูปร่าง และทิศทาง ส่วนมากเป็นการใช้มือและแขน โดยปกติจะยกแสดงในระดับอกหรือสูงกว่านั้นไม่ควรแสดงโดยใช้มือต่ำกว่าสะดือจะทำให้ผู้ฟังมองไม่เห็น เพื่อเน้นให้คนฟังประทับใจและจำได้
ข้อบกพร่องในการแสดงท่าทางที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ
1. การชี้นิ้ว
2. การทุบโต๊ะ
3. การปฏิเสธ หรือไม่รับรู้
4. การอ้อนวอน
การเคลื่อนไหว หมายถึง การเดินไปเดินมาบนเวที การเคลื่อนไหวนี้มีความสำคัญในการสร้างความสนใจมากอยู่มาก การเคลื่อนไหวไปมาเป็นการเปลี่ยนความจำเจ การดินไปทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง หน้าบ้าง หลังบ้าง แต่พอสมควรช่วยคนฟังหายง่วงนอนได้
ข้อบกพร่องในการเคลื่อนไหวที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ
1. ชะมดติดจั่น ก้าวเดินไปจนพล่าน
2. ปั้นตรึงตรา มีลักษณะตรึงแน่นอยู่กับที่
3. ถลาร่อนลม โครงตัวกะเท่เร่ไปในทิศทางต่าง ๆ
โครงการศึกษาเรียนรู้นอกสถานศึกษา ณ.สถาบันศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักการและเหตุผล
แหล่งการเรียนรู้ภายนอกมหาวิทยาลัย ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งรวบรวมและถ่ายทอดประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต รวมถึงศิลปวัฒนธรรมชาวอีสานที่เยาวชนรุ่นใหม่สมควรที่จะได้รับการศึกษา เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมอีสานให้อยู่คู่กับคนรุ่นหลังต่อไป
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อศึกษาพัฒนาการในด้านต่างๆของชาวอีสาน
2. เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน
3. เพื่อให้นักศึกษาได้แสวงหาความรู้ภายนอกมหาวิทยาลัย
4. เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานต่อไป
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประวัติการก่อตั้งสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
อีสาน ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรม ที่สืบทอดมาเป็นเวลานานจาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น การขุดค้นพบ ศิลปวัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งนับว่าเป็นอารยธรรม ใหม่ของโลกนั้น ยืนยันได้ว่าอีสาน เคยเป็นแหล่งอารยธรรม อันเก่าแก่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อศิลปะประเพณีและภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีความสำคัญยิ่ง ด้วยการเล็งเห็นคุณค่าความสำคัญ ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ของชาวอีสานนี้ " สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน " จึงได้กำเนิดขึ้นสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานเป็น หน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีฐานะ เทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัย
"ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓โดย เริ่มจากกลุ่มผู้สนใจ คณาจารย์ นิสิต ชาวบ้านที่มีใจรักในงานศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ใช้เวลาว่างในวันหยุดออกสำรวจศึกษาถ่ายภาพและซักถาม สัมภาษณ์ สังเกต ดูของจริง เก็บตัวอย่างทำการรวบรวมข้อมูล นำมาจัดหมวดหมู่
วิเคราะห์วิจัย จัดนิทรรศการ เพื่อการอนุรักษ์ เผยแพร่และส่งเสริมให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันโดยเฉพาะด้านการศึกษาวิจัยศิลปะพื้นบ้าน ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถนำผลวิจัยไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพและยกฐานะทางเศรษฐกิจ ของประชาชนในท้องถิ่นให้สูงขึ้นการดำเนินงานเป็นไปด้วยดีเพราะความร่วมมือร่วมใจของคณาจารย์ นิสิต เจ้าหน้าที่ และที่สำคัญคือ ความร่วมมือที่ดีและจริงใจของชาวบ้านในท้องถิ่นอีสานศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อตั้งขึ้น ณ ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม (ในสมัยนั้น )
" ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "ได้พัฒนาก้าวหน้าเป็นลำดับการขยายการดำเนินงานเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้ผู้ทีี่่สนใจนิสิตนักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าต่อมาในปีพ.ศ.๒๕๒๙ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศให้"ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"มีชื่อเป็นทางการว่า "สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน"โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๙๘หน้า ๙ -๑๐ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๙ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน ๔๒ ล้านบาท สร้างอาคารของสถาบันฯ เป็นอาคารทรงไทยอีสานประยุกต์ ๔ ชั้นซึ่งมีเอกลักษณ์แสดงถึงความงามทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของชาวอีสาน เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางศิลปะและวัฒนธรรมอีสานการวิจัยและเผยแพร่ตามนโยบายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย
ในปี พ.ศ.2547 มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ โดยสภามหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2547 และ สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2549
ในปี พ.ศ.2548 ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต(ปร.ด.) สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรใหม่โดยสภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 และ สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 โดยได้กำหนดชุดครุยปริญญา และ สีประจำหลักสูตร คือสี เทาเงิน
สามาถดูเพิ่มเติมได้ที่คลิกที่นี่
วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555
ลักษณะของการพูดที่ดี
ลักษณะการพูดที่ดี
1.ถูกจังหวะเวลา
คู่สนทนาพร้อมจะพูด หรือติดงานยุ่งใจกับเรื่องอื่นหรือไม่ ต้องมีอารมณ์ร่วม
อาจถามว่าเขาพร้อมจะฟัง ขอเวลาผมปรึกษาเรื่องนี้ ท่านพอมีเวลาให้
อย่าพูดแทรกขณะที่เขาพูดต่อเนื่องไม่จบ เว้นแต่มีเหตุผล แต่ต้องนำว่า ผมขออนุญาตชี้แจงตรงนี้ครับ...
ใช้เวลาให้พอดี และไม่พูดเดาดักหน้าต่อข้อความของเขาเพื่อโชว์ว่าฉันรู้ดี
2.ภาษาเหมาะสม
ต้องเป็นภาษาสุภาพเข้ากับ เด็ก ผู้ใหญ่ เพื่อน หัวหน้า ผู้หญิง ผู้ชาย้ ความสนิทสนม
ต้องเข้ากับสถานที่และเวลาโอกาส เช่นในที่ประชุม หรือที่มีคนไม่สนิทอยู่ด้วย
ต้องเรียบง่ายได้ใจความ ไม่ใช้คำศัพท์เฉพาะทาง และกะทัดรัดตรงประเด็นโดยเฉพาะทางธุรกิจต้องไม่เยิ่นเย้อยืดยาด
ไม่ใช้คำพูดดูถูกเหยียดหยามบุคคลที่สาม ไม่ใช้คำบ่งว่าต่ำศักดิ์กว่า บ้านนอก ขี้ข้า
3.เนื้อหาชวนติดตาม
ลำดับเนื้อความเป็นระเบียบต่อเนื่องอย่างมีเหตุผล ถ้ามีหลายหัวเรื่องว่าให้จบเป็นข้อๆไปอย่าสับไปสับมา ทำให้สับสน หมดความตั้งใจฟัง
รู้จักผูกเรื่องที่ใกล้ตัวคนฟังโยงมาสู่เรื่องที่พูด อย่าพูดตัวเลขสถิติมากจนน่าเบื่อมาก
4.น้ำเสียงชวนน่าฟังเน้นเสียงหนักเบา นุ่มชวนฟัง ใส่อารมณ์ให้กับบางคำพูดบ่งชี้ว่าตอนนี้นะสำคัญ เพื่อเขาตื่นตัวและคล้อยตามผู้พูด
จึงควรเว้นพูดเสียงเนิบนาบราบรียบต่อเนื่องแบบท่องหนังสือชวนให้ง่วงหลับ แล้วต้องมีลีลาช้า เร็ว เว้นจังหวะหยุดพูดบ้าง
เพื่อดึงความสนใจว่า เราจะพูดอะไรต่อ ดูจากแววตาสีหน้า เนื้อหาสำคัญต้องพูดช้าชัดๆเพื่อเขาจะได้ทำความเข้าใจจดจำได้
น้ำเสียงสีหน้าผู้พูดยิ้มแย้มแสดงความจริงใจ ผู้ฟังสบายใจ ตรงข้ามกับเสียงเย่อหยิ่ง ประชดประชันคนอื่น
5.กิริยาท่าทางดี
พยายามสบตากับผู้ฟัง ดวงตาเป็นสะพานเชื่อมต่อกับความรู้สึกภายในใจโดยตรง
สื่อว่า เราเป็นมิตร ความเห็นอกเห็นใจ เรากระตือรือร้น
ควรเริ่มต้นสบตาทันทีที่เริ่มพูด แต่ต้องไม่ตลอดไป ควรหันไปทางอื่นด้วยป้องกันความอึดอัดเกิดกับผู้ฟัง
ถ้าพูดกับคนจำนวนมากต้องส่งสายตาไปคนหลังสุดก่อนแล้วจึงมองไปทั่วๆ อย่าเพ่งจ้องคนใดโดยเฉพาะ
กริยาดีต้องนั่งหลังตรง กับเอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย แสดงว่าสนใจอีกฝ่าย
แล้วอย่าเองไปพิงหลังกอดอก แสดงการตีตัวออกห่างไม่อยากพูดด้วยนะเอง
แล้วอย่าอยู่นิ่งเป็นหุ่นขี้ผึ้ง ต้องขยับบ้างเล็กน้อย แสดงมือประกอบได้เล็กน้อย แต่อย่าหลุกหลิก อย่าฃี้หน้าผู้ฟัง และถ้ายิ้มได้ควรยิ้มให้ผู้ฟัง
6.อารมณ์ขันเป็นยาดำ
สอดแทรกอารมณ์ขันที่ดีแบบสุภาพ แนบเนียน ไม่อนาจาร
ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมกับผู้ฟังได้ดีมาก สิ่งต้องระวังคือ อย่าเอาเรื่องส่วนตัวคนอื่นมาเป็นตลกให้คนอื่นหัวเราะ อย่าพูดตลกในสถานที่ราชการ ในพิธี
ไม่พูดเรื่องตลกที่คนส่วนใหญ่ฟังมาแล้ว
7.ให้ผู้ฟัง คู่สนทนามีส่วนร่วม
ตั้งคำถามเล็กๆ หรือขอความเห็นอย่างอื่นจากผู้ฟัง
เปิดโอกาสให้ซักถามประเด็นที่ติดใจ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ฟังให้หยิบสิ่งของโชว์
8.เป็นธรรมชาติและเป็นตัวของตัวเอง
มีลีลาพูดเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย คุยแบบสนุก ทำมือไม้อยู่ไม่สุขเพื่อดึงดูดความสนใจ เป็นจุดเด่นของตัวเอง แต่อย่าเลียนแบบคนดัง
ท่าทางภาษา สำนวนภาษาที่เราถนัด ที่เตรียมมา จะเป็นจุดเด่น เป็นเอกลัษณ์ของเรา
9.วิเคราะห์คู่สนทนาว่า ชอบและสนใจสิ่งไหนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ตั้งแต่แรกเห็นแล้วว่า เราจะต้องพูดกับใคร คนวัยไหน อยู่วงการอะไร ฐานะตำแหน่ง สภาพจิตใจ เขาจะมีความสนใจอะไรส่วนตัวเป็นพื้นนิสัย
เป็นช่องทางเปิดให้เรารุกเข้าไปนั่งในใจเขาอย่างไม่ยากแต่อย่าทำแบบโฉ่งฉ่างอีกฝ่ายจับได้
สรุปการพูดที่ดีไม่ใช่ตัวหนังสือ การท่องจำ แต่เป็นการกระทำ
ถึงเวลาต้องแสดงออก ต้องมีความมั่นใจสูง
แต่งตัวดีตามโอกาสและสถานที่ ไปก่อนเวลาพอสมควร
สุขภาพต้องดี
พกข้อมูลไปเต็มร้อย เตรียมตัวมาดี
เอาตัวรอดปัดป้องข้อโจมตีได้สวยงาม แต่อย่าโต้ตอบจนน่าเกลียด
รู้จักชมและยกย่องผู้ฟังอย่างสวยงาม
สุดท้ายให้มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน
ปิดท้ายด้วยการแสดงความขอบคุณรู้สึกอบอุ่นใจทั้งสองฝ่ายผู้พูดและผู้ฟัง
1.ถูกจังหวะเวลา
คู่สนทนาพร้อมจะพูด หรือติดงานยุ่งใจกับเรื่องอื่นหรือไม่ ต้องมีอารมณ์ร่วม
อาจถามว่าเขาพร้อมจะฟัง ขอเวลาผมปรึกษาเรื่องนี้ ท่านพอมีเวลาให้
อย่าพูดแทรกขณะที่เขาพูดต่อเนื่องไม่จบ เว้นแต่มีเหตุผล แต่ต้องนำว่า ผมขออนุญาตชี้แจงตรงนี้ครับ...
ใช้เวลาให้พอดี และไม่พูดเดาดักหน้าต่อข้อความของเขาเพื่อโชว์ว่าฉันรู้ดี
2.ภาษาเหมาะสม
ต้องเป็นภาษาสุภาพเข้ากับ เด็ก ผู้ใหญ่ เพื่อน หัวหน้า ผู้หญิง ผู้ชาย้ ความสนิทสนม
ต้องเข้ากับสถานที่และเวลาโอกาส เช่นในที่ประชุม หรือที่มีคนไม่สนิทอยู่ด้วย
ต้องเรียบง่ายได้ใจความ ไม่ใช้คำศัพท์เฉพาะทาง และกะทัดรัดตรงประเด็นโดยเฉพาะทางธุรกิจต้องไม่เยิ่นเย้อยืดยาด
ไม่ใช้คำพูดดูถูกเหยียดหยามบุคคลที่สาม ไม่ใช้คำบ่งว่าต่ำศักดิ์กว่า บ้านนอก ขี้ข้า
3.เนื้อหาชวนติดตาม
ลำดับเนื้อความเป็นระเบียบต่อเนื่องอย่างมีเหตุผล ถ้ามีหลายหัวเรื่องว่าให้จบเป็นข้อๆไปอย่าสับไปสับมา ทำให้สับสน หมดความตั้งใจฟัง
รู้จักผูกเรื่องที่ใกล้ตัวคนฟังโยงมาสู่เรื่องที่พูด อย่าพูดตัวเลขสถิติมากจนน่าเบื่อมาก
4.น้ำเสียงชวนน่าฟังเน้นเสียงหนักเบา นุ่มชวนฟัง ใส่อารมณ์ให้กับบางคำพูดบ่งชี้ว่าตอนนี้นะสำคัญ เพื่อเขาตื่นตัวและคล้อยตามผู้พูด
จึงควรเว้นพูดเสียงเนิบนาบราบรียบต่อเนื่องแบบท่องหนังสือชวนให้ง่วงหลับ แล้วต้องมีลีลาช้า เร็ว เว้นจังหวะหยุดพูดบ้าง
เพื่อดึงความสนใจว่า เราจะพูดอะไรต่อ ดูจากแววตาสีหน้า เนื้อหาสำคัญต้องพูดช้าชัดๆเพื่อเขาจะได้ทำความเข้าใจจดจำได้
น้ำเสียงสีหน้าผู้พูดยิ้มแย้มแสดงความจริงใจ ผู้ฟังสบายใจ ตรงข้ามกับเสียงเย่อหยิ่ง ประชดประชันคนอื่น
5.กิริยาท่าทางดี
พยายามสบตากับผู้ฟัง ดวงตาเป็นสะพานเชื่อมต่อกับความรู้สึกภายในใจโดยตรง
สื่อว่า เราเป็นมิตร ความเห็นอกเห็นใจ เรากระตือรือร้น
ควรเริ่มต้นสบตาทันทีที่เริ่มพูด แต่ต้องไม่ตลอดไป ควรหันไปทางอื่นด้วยป้องกันความอึดอัดเกิดกับผู้ฟัง
ถ้าพูดกับคนจำนวนมากต้องส่งสายตาไปคนหลังสุดก่อนแล้วจึงมองไปทั่วๆ อย่าเพ่งจ้องคนใดโดยเฉพาะ
กริยาดีต้องนั่งหลังตรง กับเอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย แสดงว่าสนใจอีกฝ่าย
แล้วอย่าเองไปพิงหลังกอดอก แสดงการตีตัวออกห่างไม่อยากพูดด้วยนะเอง
แล้วอย่าอยู่นิ่งเป็นหุ่นขี้ผึ้ง ต้องขยับบ้างเล็กน้อย แสดงมือประกอบได้เล็กน้อย แต่อย่าหลุกหลิก อย่าฃี้หน้าผู้ฟัง และถ้ายิ้มได้ควรยิ้มให้ผู้ฟัง
6.อารมณ์ขันเป็นยาดำ
สอดแทรกอารมณ์ขันที่ดีแบบสุภาพ แนบเนียน ไม่อนาจาร
ทำให้เกิดอารมณ์ร่วมกับผู้ฟังได้ดีมาก สิ่งต้องระวังคือ อย่าเอาเรื่องส่วนตัวคนอื่นมาเป็นตลกให้คนอื่นหัวเราะ อย่าพูดตลกในสถานที่ราชการ ในพิธี
ไม่พูดเรื่องตลกที่คนส่วนใหญ่ฟังมาแล้ว
7.ให้ผู้ฟัง คู่สนทนามีส่วนร่วม
ตั้งคำถามเล็กๆ หรือขอความเห็นอย่างอื่นจากผู้ฟัง
เปิดโอกาสให้ซักถามประเด็นที่ติดใจ หรือขอความช่วยเหลือจากผู้ฟังให้หยิบสิ่งของโชว์
8.เป็นธรรมชาติและเป็นตัวของตัวเอง
มีลีลาพูดเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย คุยแบบสนุก ทำมือไม้อยู่ไม่สุขเพื่อดึงดูดความสนใจ เป็นจุดเด่นของตัวเอง แต่อย่าเลียนแบบคนดัง
ท่าทางภาษา สำนวนภาษาที่เราถนัด ที่เตรียมมา จะเป็นจุดเด่น เป็นเอกลัษณ์ของเรา
9.วิเคราะห์คู่สนทนาว่า ชอบและสนใจสิ่งไหนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ตั้งแต่แรกเห็นแล้วว่า เราจะต้องพูดกับใคร คนวัยไหน อยู่วงการอะไร ฐานะตำแหน่ง สภาพจิตใจ เขาจะมีความสนใจอะไรส่วนตัวเป็นพื้นนิสัย
เป็นช่องทางเปิดให้เรารุกเข้าไปนั่งในใจเขาอย่างไม่ยากแต่อย่าทำแบบโฉ่งฉ่างอีกฝ่ายจับได้
สรุปการพูดที่ดีไม่ใช่ตัวหนังสือ การท่องจำ แต่เป็นการกระทำ
ถึงเวลาต้องแสดงออก ต้องมีความมั่นใจสูง
แต่งตัวดีตามโอกาสและสถานที่ ไปก่อนเวลาพอสมควร
สุขภาพต้องดี
พกข้อมูลไปเต็มร้อย เตรียมตัวมาดี
เอาตัวรอดปัดป้องข้อโจมตีได้สวยงาม แต่อย่าโต้ตอบจนน่าเกลียด
รู้จักชมและยกย่องผู้ฟังอย่างสวยงาม
สุดท้ายให้มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน
ปิดท้ายด้วยการแสดงความขอบคุณรู้สึกอบอุ่นใจทั้งสองฝ่ายผู้พูดและผู้ฟัง
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
ฮีตสิบสอง..
บุญประเพณีสิบสองเดือน
การถือปฏิบัติตามแบบแผนการดำเนินชีวิตทั้ง 12 เดือน ถือเป็นกลไกการถ่ายทอดบุญผ่านประเพณี เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมของคนในสังคมโดยมีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไท-ลาว เป็นขอบเขตทางวัฒนธรรมที่ยึดโยงให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยมีรายละเอียดสังเขปดังนี้
1. เดือนเจียง (เดือนอ้าย) ประเพณีบุญเข้ากรรม ให้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ที่ได้กระทำความผิดพระธรรมวินัยระหว่างจำพรรษาได้สารภาพความผิดของตนต่อหน้าคณะสงฆ์ในโบสถ์ สำหรับประชาชนหรือฆราวาสให้ทำบุญเลี้ยงผีแผน ผีฟ้า ผีมด และผีบรรพบุรุษหรือผู้ล่วงลับไปแล้ว
ความหมาย เดือนอ้ายในทางจันทรคติหรือเดือนธันวาคม หลังจากพระภิกษุสงฆ์ออกพรรษาแล้วให้พระภิกษุสงฆ์ได้สารภาพสำนึกผิด จากการละเว้นหรือละเมิดศีลพระ 227 ข้อ ต่อหน้าคณะสงฆ์ด้วยกันทั้งนี้เพื่อฝึกการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้สึกสำนึกผิดในความบกพร่องของตน กล้าพอที่จะสารภาพความผิดที่ตนได้กระทำลงไปทั้งในที่ลับหรือที่แจ้งซึ่งคนอื่นไม่พบเห็น เกิดความละอายและเกรงกลัวต่อบาปที่ได้กระทำลงไปทั้งต่อหน้าและลับหลังสาธารณชน
2. เดือนยี่ ทำบุญ “คูณข้าว” (บุญคุณข้าว) ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดมุงคุน (สวดมงคล) ตอนเย็น และตอนเช้าหลังจากพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ข้าวเปลือก
ความหมาย ในเดือนยี่ เป็นเดือนที่เก็บเกี่ยวและนวดข้าวเสร็จแล้ว จะต้องร่วมกันทำบุญเพื่อสู่ขวัญเพื่อให้เกิดสำนึกในบุญคุณของข้าวก่อนที่จะเอาไว้กินหรือขาย บางหมู่บ้านจะเรียกว่า
“บุญกุ้มข้าวใหญ่” (กุ้ม หมายความว่า กอง) คือให้แต่ละครอบครัวเอาข้าวเปลือกของตนมากองรวมกันที่วัด แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสู่ขวัญเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ข้าว จากนั้นจะถวายข้าวเปลือกให้กับวัดเพื่อนำรายได้ไปบูรณะซ่อมแซม ศาสนสถานต่อไป
3. เดือนสาม ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ) ทำบุญข้าวจี่ ทำบุญมาฆบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่โดยในตอนเช้าให้เอาข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนขนาดเท่ากำมือแล้วชุบชโลมทาด้วยน้ำอ้อย นำไปปิ้งหรือจี่พอเกรียมแล้วชุบด้วยไข่ ย่างไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะไปตั้งไว้ในหอแจก (ศาลาวัด) นิมนต์พระมาให้ศีลให้พรแล้วเอาข้าวจี่ใส่บาตรนำถวายแด่พระสงฆ์พร้อมด้วยอาหารอื่น ๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว มีการแสดงพระธรรมเทศนา ข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันให้แบ่งกันรับประทานถือว่าจะมีโชคดี ความหมาย เดือนนี้เป็นฤดูหนาว แต่ละครอบครัวได้ก่อไฟผิงจะมีถ่านไฟคุแดง จึงเหมาะกับการทำข้าวจี่ เพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานจึงใส่ไข่ และน้ำอ้อยผสมเข้าไป จึงเป็นประเพณีบุญข้าวจี่ ดังคำกล่าวว่า “เดือนสามค้อย เจ้าหัว (เจ้าอาวาส) คอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อย จัวน้อย(เณร) เช็ดน้ำตา” ณ ปัจจุบันประชาชนบางคนในจังหวัดมหาสารถามได้ทำยึดขายเป็นอาชีพได้
4. เดือนสี่ ทำบุญพระเวส (ผะเหวด) ฟังเทศน์มหาชาติ เรื่องพระเวสสันดรชาดก เนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัยแสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะได้พบพระศรีอาริย เมตไตรย์หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว จงอย่างฆ่าตีบิดามารดา สมณพราหมณ์ อาจารย์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน และให้ฟังเทศน์เรื่อพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบภายในวันเดียว เป็นต้นเหตุให้ทำบุญนี้ขึ้นทุกปี ในระหว่างงานบุญก็จะมีกลุ่มคนหรือคณะพากันรวบรวมจตุปัจจัยจากในชุมชนแล้วพากันแห่ออกมาถวายพระที่เทศน์ เรียกว่า “กัณฑ์หลอน” ความหมาย เป็นกุศโลบายหลายอย่างในประเพณีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามัคคีของคนในชุมชน เพราะว่า มีกิจกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็นการผูกผ้าผะเหวดรอบโบสถ์ การแห่ผะเหวดเข้าเมือง การแห่ข้าวพันก้อน เป็นต้น และการให้ทานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพราะได้รับฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดก ซึ่งเกี่ยวกับการให้ทาน การไม่โลภมาก และยังมีการถวายที่เรียกว่า “กัณฑ์หลอน” เป็นการถวายพระที่ไม่รู้ว่าจะเป็นพระรูปใดที่จะได้รับการถวาย ทุกวันนี้มีการทำทุกปีที่จังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้คำขวัญว่า “กินข้าวปุ้น บุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ”
5. เดือนห้า เทศกาลสงกรานต์หรือตรุษสงกรานต์ ให้สรงน้ำพระพุทธรูป พระผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ให้ไปเก็บดอกไม้ป่ามาบูชาพระ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็นสรงน้ำพระพุทธรูปทั้งที่วัดและที่บ้าน สรงน้ำพระสงฆ์ การรดน้ำ ปัจจุบันได้มีการผนวกเข้าเป็นวันครอบครัว ประเพณีนี้พบเห็นตั้งแต่มณฑลยูนาน (สิบสองปันนา) ลาว ไทย พม่า เวียดนาม และกัมพูชา ถือเป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี เคารพญาติผู้ใหญ่ นอบน้อมถ่อมตน และให้เกียรติซึ่งกันและกันอีกด้วย
6. เดือนหก มีประเพณี 2 อย่างคือ 1) บุญวันวิสาขะบูชา มีการเทศน์ตลอดกลางวัน กลางคืนมีการเวียนเทียนที่วัด และ 2) บุญบั้งไฟ เพื่อถวายพญาแถน และเป็นพิธีขอฝนก่อนถึงฤดูการทำนา มักผนวกเข้ากับการบวชนาคพร้อม ๆ กันไปด้วย มีกิจกรรมรื่นเริงสนุกสนาน เช่น การแข่งขันบั้งไฟ ขบวนแห่บั้งไฟ การฟ้อน การเซิ้ง ตอนกลางคืนมักมหรสพ เช่น หมอลำ การตีกลองเอาเสียงดังแข่งขันกัน เรียกว่า “กลองเส็ง” และการแสดงพื้นเมืองอื่น ๆ ความหมาย บุญบั้งไฟ ถือว่าเป็นประเพณีหลักในเดือนนี้ เพื่อจุดขึ้นไปบูชาพญาแถนซึ่งเป็นเทพแห่งฝนช่วยดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและให้มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอกับการเพาะปลูกข้าว อีกทั้งเพื่อเตือนให้รู้ตัวว่าฤดูการทำนากำลังใกล้จะมาถึง สังเกตได้จากการจับดินโคนนามาทาถูตัวเนื้อตัว เรียกว่า “ลงตม” และการเคารพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบกาย เป็นต้น
7. เดือนเจ็ด ทำบุญซำฮะ (ล้าง) เป็นพิธีการบูชาบรรพบุรุษ เหล่าเทวดาอาฮักษ์ หลักเมือง (วีรบุรุษ) หลักบ้าน ผีพ่อผีแม่ ผีปู่ตา ผีเมือง (บรรพบุรุษ) ผีตาแฮก (เทวดารักษาไร่นา) นำโดย “เฒ่าจ้ำ” หรือ “ปู่จ้ำ” (เรียกคนนำพิธี) ก็จะพาชาวบ้านนำข้าวปลาอาหาร สุรา มาเลี้ยงผีปู่ตาประจำหมู่บ้าน ซึ่งปู่ตาแต่ละที่ก็จะมีอาหารพิเศษที่ตนเองชอบต่างกัน เช่น ปู่ตาอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กินควาย ปู่ตาบ้านทุ่งใหญ่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กินเต่า แต่ส่วนมากจะใช้ไก่เป็นเครื่องเซ่น เพื่อชำระไล่สิ่งเสนียดจัญไรออกจากหมู่บ้าน พร้อมทั้งปกป้องคุ้มครองหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขความหมาย คนกลุ่มนี้ยังนับถือผี แต่ผีในความหมายของคนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่จะเป็นผีประเภทปกปักรักษาคุ้มครองคนในหมู่บ้านชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งให้คนในหมู่บ้านร่วมกันทำความสะอาดบ้านเรือนของตน รวมถึงการทำความสะอาดที่สาธารณะ เช่น ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน ถนนหนทาง ศาลากลางบ้าน และการระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เป็นการกตัญญูรู้คุณ
8. เดือนแปด บุญเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์ บ่ายมีการฟังพระธรรมเทศนา กับมีการป่าวร้องให้ชาวบ้านนำขี้ผึ้งมาหล่อเทียนใหญ่น้อย สำหรับจุดไว้ในโบสถ์เป็นพุทธบูชาตลอดฤดูกาลเข้าพรรษาความหมาย เป็นพิธีทางพุทธศาสนาของสงฆ์ที่บัญญัติในพระธรรมวินัยว่าจะต้องจำพรรษาอยู่วัดในฤดูฝนตลอดเวลา 3 เดือนมิให้ไปค้างแรมที่อื่นนอกจากวัดของตน ประชาชนทั่วไปก็จะทำเทียนเล่มใหญ่ไปถวายพระสงฆ์เพื่อจุดบูชาในโบสถ์ได้เป็นเวลา 3 เดือน และเวียนเทียนรอบโบสถ์
9. เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นความเชื่อแต่โบราณว่าวันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้าเป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยผีออกมาเยี่ยมญาติ ดังนั้นจะต้องพากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว โยการนำส่วนข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ต่าง ๆ ที่ทำใส่กระทงไปตั้งไว้ยังรอบวัด หรือต้นไม้ใหญ่ และถวายภัตตาหารให้แก่พระสงฆ์สามเณร และหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วความหมาย การทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือ ผีไม่มีญาติจะได้รับการแบ่งส่วนบุญนี้ด้วย การทำบุญเดือนเก้าจึงไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเหมือนกับบุญเดือนสิบ
10. เดือนสิบ บุญข้าวสากหรือข้าวสารท (สลากภัตร) ในวันเพ็ญเดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน โดยมีเวลาห่างกัน 15 วันเป็นระยะเวลาที่พวกเปรตจะต้องกลับไปเมืองนรก (ตามนิทานชาดก) ผู้ที่จะถวายทานเขียน ชื่อของตนเองไว้ในภาชนะที่ใส่ของทานไว้ แล้วเขียนชื่อของตนใส่กระดาษอีกแผ่นหนึ่ง นำไปใส่ลงในบาตร เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของผู้ใด ก็จะเรียกให้เจ้าของสลากนำเอาของถวาย ครั้นพระเณรฉันแล้ว ก็ฟังเทศน์ บรรยายนิทานวัตถุและภาษิต
ต่าง ๆความหมาย คล้าย ๆ กับบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่จะต้องเขียนชื่อคนที่ไปร่วมงานใส่ลงในบาตรพระเพื่อจับสลากนำถวาย หากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมรจะเรียกประเพณีนี้ว่า “แซนโดนตา” ซึ่ง “แซน” ก็หมายถึงการเซ่น และ “โดนตา” หมายถึง ผีปู่ตาย่ายาย เป็นการระลึกถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
ต่าง ๆความหมาย คล้าย ๆ กับบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่จะต้องเขียนชื่อคนที่ไปร่วมงานใส่ลงในบาตรพระเพื่อจับสลากนำถวาย หากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมรจะเรียกประเพณีนี้ว่า “แซนโดนตา” ซึ่ง “แซน” ก็หมายถึงการเซ่น และ “โดนตา” หมายถึง ผีปู่ตาย่ายาย เป็นการระลึกถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
11. เดือนสิบเอ็ด จะมีพิธีการหลัก 4 อย่าง คือ หนึ่งบุญออกพรรษาหรือสังฆะเจ้าออก วัสสาปวรารณา กระทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ พระสงฆ์จะแสดงอาบัติ ทำการปวารณา คือการเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาก็ให้พระสงฆ์ผู้ใหญ่ให้โอวาทเตือนพระสงฆ์ ส่วนฆราวาสจะนำเอาธูปเทียนและดอกไม้ไปบูชาพระพุทธรูปหน้าโบสถ์ โดยทางวัดจะเตรียมรางไม้รูปพญานาคสำหรับให้ประชาชนนำธูปเทียนดอกไม้ไปปักไว้ สองแห่ต้นดอกเผิ่ง (แห่ปราสาทผึ้ง) เพื่อให้พระสงฆ์เก็บรวบรวมผึ้งเอาไว้ทำเทียนใช้ พร้อมกับการถวายข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ให้กับพระสงฆ์อีกด้วย สามการไหลเรือไฟ เพื่อบูชาพญานาคที่รักษาคุ้มครองแม่น้ำ และสี่การแข่งเรือ เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านสามัคคีกันและสนุกสนานร่วมกันความหมาย เป็นวันที่เตือนประชาชนให้ทราบว่าพระสงฆ์ได้ออกพรรษาแล้ว ท่านจะได้ออกจากวัดไปจาริกแสวงบุญยังที่ต่าง ๆ หรือออกไปเทศนายังที่ต่าง ๆ ได้ ส่วนการแห่ปราสาทเผิ่ง (ผึ้ง) การไหลเรือไฟ และการแข่งเรือ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน เกิดความรักและผูกพัน ภาคภูมิใจในหมู่บ้านของตน
12. เดือนสิบสอง บุญกฐิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบสอง อัฎฐบริขารที่จำเป็นต้องทอดเป็นองค์กฐินจะขาดมิได้คือบาตร สังฆาฎิ จีวร สบง มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ สายรัดประคด ผ้ากรองน้ำ และเข็ม และทำบุญอัฏฐะ คือ การถวายอัฏฐะบริขารแปดอย่างแก่พระสงฆ์บางครั้งก็ยังเพิ่มการทำบังสุกุลเพื่อทานข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วความหมาย การทำบุญกฐินเป็นการทำบุญยิ่งใหญ่ หากตายไปแล้วจะไม่ตกนรก และ ผลบุญที่ได้รับจะเก็บสะสมไว้ในชาติหน้า
วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555
อีสานคลาสสิก และ สุดยอดแห่งที่ราบสูงอีสาน
สุดยอดขุนเขาแห่งการท่องเที่ยว...ภูกระดึง
ภูกระดึง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ที่ไม่เคยเสื่อมคลายมนตร์ขลัง เพราะที่นี่มีทุกๆ อย่างที่นักท่องเที่ยวต้องการ จุดเด่นของภูกระดึงคือความสวยงามของภูเขา สายหมอกหน้าผา พรรณไม้ และสัตว์ป่า กล่าวกันว่า ถ้านักท่องเที่ยวจะเริ่มต้นออกเดินทางท่องธรรมชาติ ภูกระดึงจะเป็นเสมือนโรงเรียนประถมต้นของการท่องเที่ยวภูเขากันเลยที่เดียวสุดยอดภูผาและผืนป่าอนุรักษ์ในบรรดาภูผาและผืนป่าอนุรักษ์ทั้งหลายของอีสานนั้น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง คือสุดยอดของภูผาและผืนป่าอนุรักษ์ที่ อยากจะยกย่องให้เป็นสุดยอดของอีสานในด้านภูเขาและผืนป่าแห่งการอนุรักษ์สุดยอดสายน้ำฉ่ำเย็น แม่น้ำโขง ชี มูนแม่น้ำโขง คือสุดยอดแม่น้ำของอีสาน ข้อนี้คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในภาคเหนือที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางสั้นๆ ก่อนจะออกจากประเทสไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเดียวกัน จากนั้นแม่น้ำโขงจึงไหลกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในแผ่นดินอีสาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จากเชียงคาน แม่น้ำโขงก่อให้เกิดหาดทราบ โขดหิน และเกาะแก่งที่สวยงามมากมายหลากหลาย โดยเฉพาะที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย มีที่พักและรีสอร์ตมากหลายได้รับการจัดสร้างขึ้นไว้รองรับนักท่องเที่ยวผู้มาชมความสวยงามของแม่น้ำโขงที่นี่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เป็นสะพานนานาชาติแห่งแรกที่พาดข้ามไปบนแม่น้ำสายนี้ เชื่อมมิตรภาพสองฝั่งโขง ร้อยใจลาว-ไทยน้องพี่เข้าด้วยกัน จากสะพานมิตรภาพๆ แม่น้ำโขงก็ขยายตัวกว้างใหญ่ ทอดผ่านเมืองสองฟากฝั่งที่ล้วนเป็นเมืองสำคัญของสองประเทส เช่น เมืองบึงกาฬ เมืองบอลิคัน เมืองนครพนม และเมืองท่าแขก จนมาพบกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นแม่น้ำโขงก็ไหลต่อลงไปผ่านเมืองเขมราฐ ก่อให้เกิดแก่งหินที่สวยงามขึ้นอีกหลายชุดก่อนจะไปสุดท้ายออกจากประเทสไทยที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีระหว่างทางเดินของแม่น้ำโขงได้ก่อให้เกิดสิ่งดีๆ มากหลาย ประชาชนสองฟากฝั่งใช้แม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินด้านการเกษตรมากมาย ที่หน้าเมืองนครพนมและเมืองเวียงจันทน์เกิดเป็นหาดทรายกว้างใหญ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของทั้งสองประเทศ งานเทศกาลประเพณีที่เกี่ยวข้องกัยการท่องเที่ยว เช่น ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีไหลเรือไฟ และปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้น ก่อให้เกิดการทางท่องเที่ยวอย่างกว้างขวางแม่น้ำมูน เป็นแม่น้ำสายกว้างใหญ่และยาวที่สุดในอีสาน เกิดขึ้นจากแนวทิวเขาสันกำแพงบางส่วน และทิวเขาพนมดงรักอีกบางส่วน แม่น้ำมูนไหลลงไปกลายเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำโขง ตรงจุดที่แม่น้ำมูนไหลลงแม่น้ำโขงเรียกว่าแม่น้ำสองสี เมืองโขงเจียม ส่วน แม่น้ำชี ต้นกำเนิดคือแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ แล้วไหลผ่านไปยังที่ราบตอนกลางของภาคอีสาน จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร แล้วไหลมาลงยังแม่น้ำมูนที่จังหวัดอุบลราชธานี ต่อจากนั้นจึงรวมกันไหลลงแม่น้ำโขงที่ปากมูลอีกต่อหนึ่งสุดยอดความงามทุ่งดอกไม้ป่าทุ่งกระเจียว จังหวัดชัยภูมิ และ ทุ่งดอกไม้ดินบนลานหิน อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบนราชธานี มีความเป็นสุดยอดที่พอๆ กัน เนื่องเพราะบนลานดอกไม้ทั้งสองแห่งนั้น ล้วนมีการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างดี การเข้าชมเป็นเระเบียบเรียบร้อย ขนาดของทุ่งดอกไม้เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ เมื่อถึงฤดูกาลมีดอกไม้จำนวนมากผลิบานแน่นขนัด เที่ยวได้ไม่เบื่อ อยู่ในพื้นที่ที่มีความสะดวกในการเข้าถึงได้เป็นอย่างดี มีที่พักทั้งของภาครัฐและเอกชนบริการพร้อมพรั่ง อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ รอรองรับนักท่องเที่ยวให้สามารถไปต่อยอดในที่อื่นๆ ได้อีกสุดยอดอีสานก่อนประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์ของอีสานเริ่มขึ้นตั้งแต่ยุกก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบซากกระดูกของไดโนเสาร์หลากพันธุ์หลายตระกูล ทั้งชนิดเนื้อและกินพืช โดยเฉพาะในเขตภาคอีสานตอนกลาง อันเป็นพื้นที่แถบเทืองเขาภูพาน จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร ขอนแก่น นอกจากซากไดโนเสาร์ ยังมีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ภาพเขียนสีที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้นจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็คลี่คลายมาสู่ยุคแห่งตำนาน เรื่องราวของเมืองโบราณต่างๆ ที่ถูกทับซ้อนอยู่ด้วยเมืองสมัยใหม่ นิทานในประวัติศาสตร์อย่างอุสา-บารสท้าวปาจิตต์กับนางอรพิมพ์ และสังข์ศิลป์ไชย ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเป็นบ้านเป็นเมืองในยุคก่อนของอีสาน ก่อนจะถึงช่วงแห่งการเผยแพร่เข้ามาของอารยธรรมขอม และมาสุดปลายทางที่การทิ้งร้างบ้านเมืองต่างๆ ออกไปด้วยเหตุผลที่ยังคงลี้ลับ ก่อนที่กลุ่มชนไทยลาวจะอพยพโยกย้ายกันข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินที่เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนหน้าแล้ว และพลิกฟื้นผืนแผ่นดินอีสานให้กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งความเป็นดินแดนแห่งไดโนเสาร์นับว่าเป็นจุดเด่นที่สำคัญของการท่องเที่ยวอีสานทำให้เกิดพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ขึ้นมากมายหลายแห่ง แต่ละแห่งมีการจัดแสดงที่ทันสมัยสวยงาม ถ้าจะเทียบกับการค้นพบภาพวาดที่ผาแต้ม หรือลวดลายหม้อไหบ้านเชียงนับว่ามีจุดเด่นกันคนละด้าน แต่กับนักท่องเที่ยวชาวไทย ยังนับว่าไดโนเสาร์ได้เปรียบกว่า เพราะฉะนั้น ไดโนเสาร์จึงเป็นสุดยอดที่เหนือกว่าเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ใดๆ ของอีสานครับสุดยอดอลังการแห่งปราสาทหินปราสาทหินอันเป็นที่รู้จักในภาคอีสานและเป็นสุดยอดในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินทรายสีชมพูบนปากปล่องภูเขาไฟแห่งเมืองบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทที่เป็นดังตันแบบแห่งปราสาทหลายแห่งในเมืองเสียมเรียบ ปราสาทตาเมือน ที่มีทั้งอโรคยศาลาและธรรมศาลาครบครัน อยู่ใกล้ๆ ปราสาทหินพนมวัน ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงน้อย และปราสาทศรีขรภูมิ เป็นต้นสุดยอดพระบรมธาตุงวดงามดังนิรมิตพระธาตุสำคัญของอีสานอันเป็นที่รู้จัก ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม พระธาตุก่องข้าวน้อย จังหวัดยโสธร พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุยาคู จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น![]()
สุดยอดชาวเผ่าอีสาน สีสันของผู้คนและวัฒนธรรมประเพณีคนอีสานนอกจากจะมีชาวอีสานลาว ซึ่งเป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ที่สุด เป็นเจ้าของวัฒนธรรมประเพณีซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคแล้ว อีสานก็ยังมีกลุ่มชนต่างๆ อีกหลากหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น กลุ่มชาวผู้ไทยหรือไทยดำ กลุ่มชาวอีสานเขมร กลุ่มชาวส่วย กลุ่มชาวมอญเขมรโบราณ เช่น ชาวบนหรือญักุร ชาวข่าหรือขมุ กลุ่มชาวไทยย้อ กลุ่มชาวไทยกระโส้ ตลอดจนกลุ่มชาวไทยโคราช เป็นต้น
.....ของดีประเทศไทย.....
ของดีเมืองไทย
เครื่องปั้นดินเผา บ้านเวียงกาหลง![]()
ย้อนกลับไปประมาณ ปีพ.ศ. 2546 ประเทศ ไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกหรือ APEC ครั้งที่ 11 ณ กรุงเทพมหานคร ใครจะรู้ว่านอก จากเป็นการประชุมเพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทยให้ทั่วโลกได้ประจักษ์แล้ว ยังเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมจากหลากหลายตำบลของประเทศไทยสู่ สายตาชาวโลกอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม... | |
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)