วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้ท่าทางประกอบการพูด


การใช้กิริยาท่าทางประกอบการพูด

          เป็นที่ยอมรับแล้วว่า  กิริยาท่าทางเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งอันหนึ่งในกาพูดแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ การแสดงสีหน้า การวางท่า การเคลื่อนไหวและการแสดงท่าทาง แต่ในการแสดงทั้ง  4 ประเภทนั้นต้องผสมกลมกลืนกันไปทั้งหมด  จะแยกเป็นส่วนสัดออกจากกันไม่ได้โดยเด็ดขาด


การวางท่า  ไม่มีแบบของการยืน  หรือนั่งไว้แน่นอนแต่มีข้อพึงระวังอยู่ว่าอย่ายืนหรือนั่งตัวตรง  แข็งทื่อแบบทหารเฝ้ายาม หรืออกแอ่น  พุงแอ่น ให้ยืนนั่งตามสบาย แต่ก็อย่าให้ถึงขนาดตัวห่อหรือทำท่าจะล้มพับลง ให้เท้าห่างจากกันประมาณ  6-12 นิ้ว  และวางน้ำหนักไว้ตรงอุ้งเท้าจะเป็นท่าที่ยืนที่สบาย

                       ข้อบกพร่องในการวางท่าที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ

         1.    ท่าคนขี้ยา
         2.    ท่าชิงหาหลัก
         3.    ท่าไม้ปักรั้ว

 การแสดงสีหน้า  ส่วนสำคัญที่สุดของการแสดงสีหน้า  ได้แก่  ดวงตา  ดวงตาเป็นประตู่ของหัวใจที่จะติดต่อกับคนฟังโดยตรง  เราชอบคนพูดที่พูดกับเราโดยไม่หลบตา  ไม่ว่าในการพูดคุยธรรมดาหรือบนเวที  หากคนที่พูดกับเราคอยหลบตา  หรือไม่กล้าสบตา  เราจะมีความไว้วางใจน้อยลง  การพูดต่อชุมนุม  ถ้าผู้พูดที่คอยก้มหน้าดูพื้น ก้มอ่านที่จดไว้ แหนงมองเพดาน มองออกไปทางหน้าต่างหรือที่อื่น  ไม่มองไปยังผู้ฟัง  ย่อมพาให้ผู้ฟังขาดความสนใจในตัวผู้พูด

       ข้อบกพร่องในการแสดงสีหน้าที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ
         1.    หน้าลักไก่
         2.    หน้าเก๊ก
         3.    หน้าหลุกหลิก

 การแสดงท่าทาง  เป็นการเน้นหรือช่วยเพิ่มความกระจ่าง  โดยเฉพาะในระยะทาง  ขนาดรูปร่าง  และทิศทาง  ส่วนมากเป็นการใช้มือและแขน  โดยปกติจะยกแสดงในระดับอกหรือสูงกว่านั้นไม่ควรแสดงโดยใช้มือต่ำกว่าสะดือจะทำให้ผู้ฟังมองไม่เห็น  เพื่อเน้นให้คนฟังประทับใจและจำได้

                       ข้อบกพร่องในการแสดงท่าทางที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ

         1.    การชี้นิ้ว
         2.    การทุบโต๊ะ
         3.    การปฏิเสธ  หรือไม่รับรู้
         4.    การอ้อนวอน

 การเคลื่อนไหว  หมายถึง  การเดินไปเดินมาบนเวที  การเคลื่อนไหวนี้มีความสำคัญในการสร้างความสนใจมากอยู่มาก  การเคลื่อนไหวไปมาเป็นการเปลี่ยนความจำเจ  การดินไปทางซ้ายบ้าง  ขวาบ้าง  หน้าบ้าง  หลังบ้าง  แต่พอสมควรช่วยคนฟังหายง่วงนอนได้

                       ข้อบกพร่องในการเคลื่อนไหวที่มักพบเห็นกันอยู่เสมอ

         1.    ชะมดติดจั่น  ก้าวเดินไปจนพล่าน
         2.    ปั้นตรึงตรา  มีลักษณะตรึงแน่นอยู่กับที่
         3.    ถลาร่อนลม  โครงตัวกะเท่เร่ไปในทิศทางต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น