บุญประเพณีสิบสองเดือน
การถือปฏิบัติตามแบบแผนการดำเนินชีวิตทั้ง 12 เดือน ถือเป็นกลไกการถ่ายทอดบุญผ่านประเพณี เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมของคนในสังคมโดยมีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไท-ลาว เป็นขอบเขตทางวัฒนธรรมที่ยึดโยงให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยมีรายละเอียดสังเขปดังนี้
1. เดือนเจียง (เดือนอ้าย) ประเพณีบุญเข้ากรรม ให้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ที่ได้กระทำความผิดพระธรรมวินัยระหว่างจำพรรษาได้สารภาพความผิดของตนต่อหน้าคณะสงฆ์ในโบสถ์ สำหรับประชาชนหรือฆราวาสให้ทำบุญเลี้ยงผีแผน ผีฟ้า ผีมด และผีบรรพบุรุษหรือผู้ล่วงลับไปแล้ว
ความหมาย เดือนอ้ายในทางจันทรคติหรือเดือนธันวาคม หลังจากพระภิกษุสงฆ์ออกพรรษาแล้วให้พระภิกษุสงฆ์ได้สารภาพสำนึกผิด จากการละเว้นหรือละเมิดศีลพระ 227 ข้อ ต่อหน้าคณะสงฆ์ด้วยกันทั้งนี้เพื่อฝึกการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้สึกสำนึกผิดในความบกพร่องของตน กล้าพอที่จะสารภาพความผิดที่ตนได้กระทำลงไปทั้งในที่ลับหรือที่แจ้งซึ่งคนอื่นไม่พบเห็น เกิดความละอายและเกรงกลัวต่อบาปที่ได้กระทำลงไปทั้งต่อหน้าและลับหลังสาธารณชน
2. เดือนยี่ ทำบุญ “คูณข้าว” (บุญคุณข้าว) ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดมุงคุน (สวดมงคล) ตอนเย็น และตอนเช้าหลังจากพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ข้าวเปลือก
ความหมาย ในเดือนยี่ เป็นเดือนที่เก็บเกี่ยวและนวดข้าวเสร็จแล้ว จะต้องร่วมกันทำบุญเพื่อสู่ขวัญเพื่อให้เกิดสำนึกในบุญคุณของข้าวก่อนที่จะเอาไว้กินหรือขาย บางหมู่บ้านจะเรียกว่า
“บุญกุ้มข้าวใหญ่” (กุ้ม หมายความว่า กอง) คือให้แต่ละครอบครัวเอาข้าวเปลือกของตนมากองรวมกันที่วัด แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสู่ขวัญเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ข้าว จากนั้นจะถวายข้าวเปลือกให้กับวัดเพื่อนำรายได้ไปบูรณะซ่อมแซม ศาสนสถานต่อไป
3. เดือนสาม ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ) ทำบุญข้าวจี่ ทำบุญมาฆบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่โดยในตอนเช้าให้เอาข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนขนาดเท่ากำมือแล้วชุบชโลมทาด้วยน้ำอ้อย นำไปปิ้งหรือจี่พอเกรียมแล้วชุบด้วยไข่ ย่างไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะไปตั้งไว้ในหอแจก (ศาลาวัด) นิมนต์พระมาให้ศีลให้พรแล้วเอาข้าวจี่ใส่บาตรนำถวายแด่พระสงฆ์พร้อมด้วยอาหารอื่น ๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว มีการแสดงพระธรรมเทศนา ข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันให้แบ่งกันรับประทานถือว่าจะมีโชคดี ความหมาย เดือนนี้เป็นฤดูหนาว แต่ละครอบครัวได้ก่อไฟผิงจะมีถ่านไฟคุแดง จึงเหมาะกับการทำข้าวจี่ เพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานจึงใส่ไข่ และน้ำอ้อยผสมเข้าไป จึงเป็นประเพณีบุญข้าวจี่ ดังคำกล่าวว่า “เดือนสามค้อย เจ้าหัว (เจ้าอาวาส) คอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อย จัวน้อย(เณร) เช็ดน้ำตา” ณ ปัจจุบันประชาชนบางคนในจังหวัดมหาสารถามได้ทำยึดขายเป็นอาชีพได้
4. เดือนสี่ ทำบุญพระเวส (ผะเหวด) ฟังเทศน์มหาชาติ เรื่องพระเวสสันดรชาดก เนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัยแสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะได้พบพระศรีอาริย เมตไตรย์หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว จงอย่างฆ่าตีบิดามารดา สมณพราหมณ์ อาจารย์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน และให้ฟังเทศน์เรื่อพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบภายในวันเดียว เป็นต้นเหตุให้ทำบุญนี้ขึ้นทุกปี ในระหว่างงานบุญก็จะมีกลุ่มคนหรือคณะพากันรวบรวมจตุปัจจัยจากในชุมชนแล้วพากันแห่ออกมาถวายพระที่เทศน์ เรียกว่า “กัณฑ์หลอน” ความหมาย เป็นกุศโลบายหลายอย่างในประเพณีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามัคคีของคนในชุมชน เพราะว่า มีกิจกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็นการผูกผ้าผะเหวดรอบโบสถ์ การแห่ผะเหวดเข้าเมือง การแห่ข้าวพันก้อน เป็นต้น และการให้ทานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพราะได้รับฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดก ซึ่งเกี่ยวกับการให้ทาน การไม่โลภมาก และยังมีการถวายที่เรียกว่า “กัณฑ์หลอน” เป็นการถวายพระที่ไม่รู้ว่าจะเป็นพระรูปใดที่จะได้รับการถวาย ทุกวันนี้มีการทำทุกปีที่จังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้คำขวัญว่า “กินข้าวปุ้น บุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ”
5. เดือนห้า เทศกาลสงกรานต์หรือตรุษสงกรานต์ ให้สรงน้ำพระพุทธรูป พระผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ให้ไปเก็บดอกไม้ป่ามาบูชาพระ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็นสรงน้ำพระพุทธรูปทั้งที่วัดและที่บ้าน สรงน้ำพระสงฆ์ การรดน้ำ ปัจจุบันได้มีการผนวกเข้าเป็นวันครอบครัว ประเพณีนี้พบเห็นตั้งแต่มณฑลยูนาน (สิบสองปันนา) ลาว ไทย พม่า เวียดนาม และกัมพูชา ถือเป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี เคารพญาติผู้ใหญ่ นอบน้อมถ่อมตน และให้เกียรติซึ่งกันและกันอีกด้วย
6. เดือนหก มีประเพณี 2 อย่างคือ 1) บุญวันวิสาขะบูชา มีการเทศน์ตลอดกลางวัน กลางคืนมีการเวียนเทียนที่วัด และ 2) บุญบั้งไฟ เพื่อถวายพญาแถน และเป็นพิธีขอฝนก่อนถึงฤดูการทำนา มักผนวกเข้ากับการบวชนาคพร้อม ๆ กันไปด้วย มีกิจกรรมรื่นเริงสนุกสนาน เช่น การแข่งขันบั้งไฟ ขบวนแห่บั้งไฟ การฟ้อน การเซิ้ง ตอนกลางคืนมักมหรสพ เช่น หมอลำ การตีกลองเอาเสียงดังแข่งขันกัน เรียกว่า “กลองเส็ง” และการแสดงพื้นเมืองอื่น ๆ ความหมาย บุญบั้งไฟ ถือว่าเป็นประเพณีหลักในเดือนนี้ เพื่อจุดขึ้นไปบูชาพญาแถนซึ่งเป็นเทพแห่งฝนช่วยดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและให้มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอกับการเพาะปลูกข้าว อีกทั้งเพื่อเตือนให้รู้ตัวว่าฤดูการทำนากำลังใกล้จะมาถึง สังเกตได้จากการจับดินโคนนามาทาถูตัวเนื้อตัว เรียกว่า “ลงตม” และการเคารพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบกาย เป็นต้น
7. เดือนเจ็ด ทำบุญซำฮะ (ล้าง) เป็นพิธีการบูชาบรรพบุรุษ เหล่าเทวดาอาฮักษ์ หลักเมือง (วีรบุรุษ) หลักบ้าน ผีพ่อผีแม่ ผีปู่ตา ผีเมือง (บรรพบุรุษ) ผีตาแฮก (เทวดารักษาไร่นา) นำโดย “เฒ่าจ้ำ” หรือ “ปู่จ้ำ” (เรียกคนนำพิธี) ก็จะพาชาวบ้านนำข้าวปลาอาหาร สุรา มาเลี้ยงผีปู่ตาประจำหมู่บ้าน ซึ่งปู่ตาแต่ละที่ก็จะมีอาหารพิเศษที่ตนเองชอบต่างกัน เช่น ปู่ตาอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กินควาย ปู่ตาบ้านทุ่งใหญ่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กินเต่า แต่ส่วนมากจะใช้ไก่เป็นเครื่องเซ่น เพื่อชำระไล่สิ่งเสนียดจัญไรออกจากหมู่บ้าน พร้อมทั้งปกป้องคุ้มครองหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขความหมาย คนกลุ่มนี้ยังนับถือผี แต่ผีในความหมายของคนกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่จะเป็นผีประเภทปกปักรักษาคุ้มครองคนในหมู่บ้านชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งให้คนในหมู่บ้านร่วมกันทำความสะอาดบ้านเรือนของตน รวมถึงการทำความสะอาดที่สาธารณะ เช่น ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน ถนนหนทาง ศาลากลางบ้าน และการระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เป็นการกตัญญูรู้คุณ
8. เดือนแปด บุญเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์ บ่ายมีการฟังพระธรรมเทศนา กับมีการป่าวร้องให้ชาวบ้านนำขี้ผึ้งมาหล่อเทียนใหญ่น้อย สำหรับจุดไว้ในโบสถ์เป็นพุทธบูชาตลอดฤดูกาลเข้าพรรษาความหมาย เป็นพิธีทางพุทธศาสนาของสงฆ์ที่บัญญัติในพระธรรมวินัยว่าจะต้องจำพรรษาอยู่วัดในฤดูฝนตลอดเวลา 3 เดือนมิให้ไปค้างแรมที่อื่นนอกจากวัดของตน ประชาชนทั่วไปก็จะทำเทียนเล่มใหญ่ไปถวายพระสงฆ์เพื่อจุดบูชาในโบสถ์ได้เป็นเวลา 3 เดือน และเวียนเทียนรอบโบสถ์
9. เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นความเชื่อแต่โบราณว่าวันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้าเป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยผีออกมาเยี่ยมญาติ ดังนั้นจะต้องพากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว โยการนำส่วนข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ต่าง ๆ ที่ทำใส่กระทงไปตั้งไว้ยังรอบวัด หรือต้นไม้ใหญ่ และถวายภัตตาหารให้แก่พระสงฆ์สามเณร และหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วความหมาย การทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือ ผีไม่มีญาติจะได้รับการแบ่งส่วนบุญนี้ด้วย การทำบุญเดือนเก้าจึงไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเหมือนกับบุญเดือนสิบ
10. เดือนสิบ บุญข้าวสากหรือข้าวสารท (สลากภัตร) ในวันเพ็ญเดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน โดยมีเวลาห่างกัน 15 วันเป็นระยะเวลาที่พวกเปรตจะต้องกลับไปเมืองนรก (ตามนิทานชาดก) ผู้ที่จะถวายทานเขียน ชื่อของตนเองไว้ในภาชนะที่ใส่ของทานไว้ แล้วเขียนชื่อของตนใส่กระดาษอีกแผ่นหนึ่ง นำไปใส่ลงในบาตร เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของผู้ใด ก็จะเรียกให้เจ้าของสลากนำเอาของถวาย ครั้นพระเณรฉันแล้ว ก็ฟังเทศน์ บรรยายนิทานวัตถุและภาษิต
ต่าง ๆความหมาย คล้าย ๆ กับบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่จะต้องเขียนชื่อคนที่ไปร่วมงานใส่ลงในบาตรพระเพื่อจับสลากนำถวาย หากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมรจะเรียกประเพณีนี้ว่า “แซนโดนตา” ซึ่ง “แซน” ก็หมายถึงการเซ่น และ “โดนตา” หมายถึง ผีปู่ตาย่ายาย เป็นการระลึกถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
ต่าง ๆความหมาย คล้าย ๆ กับบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่จะต้องเขียนชื่อคนที่ไปร่วมงานใส่ลงในบาตรพระเพื่อจับสลากนำถวาย หากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมรจะเรียกประเพณีนี้ว่า “แซนโดนตา” ซึ่ง “แซน” ก็หมายถึงการเซ่น และ “โดนตา” หมายถึง ผีปู่ตาย่ายาย เป็นการระลึกถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
11. เดือนสิบเอ็ด จะมีพิธีการหลัก 4 อย่าง คือ หนึ่งบุญออกพรรษาหรือสังฆะเจ้าออก วัสสาปวรารณา กระทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ พระสงฆ์จะแสดงอาบัติ ทำการปวารณา คือการเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาก็ให้พระสงฆ์ผู้ใหญ่ให้โอวาทเตือนพระสงฆ์ ส่วนฆราวาสจะนำเอาธูปเทียนและดอกไม้ไปบูชาพระพุทธรูปหน้าโบสถ์ โดยทางวัดจะเตรียมรางไม้รูปพญานาคสำหรับให้ประชาชนนำธูปเทียนดอกไม้ไปปักไว้ สองแห่ต้นดอกเผิ่ง (แห่ปราสาทผึ้ง) เพื่อให้พระสงฆ์เก็บรวบรวมผึ้งเอาไว้ทำเทียนใช้ พร้อมกับการถวายข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ให้กับพระสงฆ์อีกด้วย สามการไหลเรือไฟ เพื่อบูชาพญานาคที่รักษาคุ้มครองแม่น้ำ และสี่การแข่งเรือ เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านสามัคคีกันและสนุกสนานร่วมกันความหมาย เป็นวันที่เตือนประชาชนให้ทราบว่าพระสงฆ์ได้ออกพรรษาแล้ว ท่านจะได้ออกจากวัดไปจาริกแสวงบุญยังที่ต่าง ๆ หรือออกไปเทศนายังที่ต่าง ๆ ได้ ส่วนการแห่ปราสาทเผิ่ง (ผึ้ง) การไหลเรือไฟ และการแข่งเรือ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน เกิดความรักและผูกพัน ภาคภูมิใจในหมู่บ้านของตน
12. เดือนสิบสอง บุญกฐิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบสอง อัฎฐบริขารที่จำเป็นต้องทอดเป็นองค์กฐินจะขาดมิได้คือบาตร สังฆาฎิ จีวร สบง มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ สายรัดประคด ผ้ากรองน้ำ และเข็ม และทำบุญอัฏฐะ คือ การถวายอัฏฐะบริขารแปดอย่างแก่พระสงฆ์บางครั้งก็ยังเพิ่มการทำบังสุกุลเพื่อทานข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วความหมาย การทำบุญกฐินเป็นการทำบุญยิ่งใหญ่ หากตายไปแล้วจะไม่ตกนรก และ ผลบุญที่ได้รับจะเก็บสะสมไว้ในชาติหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น